จากข้อมูลจำนวนแรงงานต่างชาติในประเทศบรูไน ปี 2562 จาก ACE Annual Census of Enterprises 2019 พบว่าการจ้างงานภาคเอกชน จำนวน 116,013 คน เป็นคนท้องถิ่น 58,283 คน (ร้อยละ 50.2) และแรงงานต่างชาติ 57,730 (ร้อยละ 49.8)
จากข้อมูล Population Estimates 2023 (พ.ศ.2566) จำนวนแรงงานอยู่ที่ 82,200 คน คิดเป็นร้อยละ 18.2 จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบรูไน จำนวน 450,500 คน เป็นคนบรูไน 342,300 คน คิดเป็นร้อยละ 76 และมีถิ่นพำนักถาวรในบรูไน จำนวน 26,000 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8
แรงงานต่างชาติคาดการณ์ว่ามีจำนวนมากที่สุดคือแรงงานจากประเทศอินโดนีเซีย อมูลโดยประมาณมีจำนวนถึง 25,000 คน แรงงานจากประเทศฟิลิปปินส์ มีจำนวนโดยประมาณรวม 23,000 คน แรงงานจากประเทศมาเลเซีย มีจำนวนโดยประมาณรวม 15,000 คน แรงงานจากประเทศบังคลาเทศ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและมีจำนวนโดยประมาณ 15,000 คน สำหรับแรงงานไทยมีจำนวน 682 คน
ในห้วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สำนักงานแรงงานในประเทศบรูไน ได้รับรองเอกสารจ้างงานแรงงานไทย ดังนี้
พ.ศ. 2567 รับรองเอกสารการจ้างงานแรงงานไทย จำนวน 51 คน
พ.ศ. 2566 รับรองเอกสารการจ้างงานแรงงานไทย จำนวน 133 คน
พ.ศ. 2565 รับรองเอกสารการจ้างงานแรงงานไทย จำนวน 157 คน
โดยแรงงานจะมาในตำแหน่ง ช่างเชื่อม ช่างประกอบ กุ๊ก พนักงานนวดแผนไทย คนงานทั่วไป ช่างเคาะ พ่นสี ช่างเครื่องยนต์ เป็นหลัก
ความต้องการจ้างแรงงานไทยในประเทศบรูไน ยังคงมีความต้องการจากการสอบถามจากนายจ้าง ในห้วงปี 2565 – ปัจจุบัน แต่กลับมีแรงงานไทยเข้ามาทำงานที่บรูไน แนวโน้มที่จะมีปริมาณลดลง ทั้งนี้สาเหตุ
จากปัจจัยต่างๆหลายประการคือ
1. ปัจจัยด้านระดับอัตราค่าจ้างและรายได้ ค่อนข้างต่ำ โดยบรูไนมีกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2566 แค่ 2 สาขา คือ ด้าน IT และ ด้านการเงิน โดยระบุค่าจ้างเดือนละ 500 BND
2. ปัจจัยด้าน Labour Supply ถึงแม้นายจ้างบรูไนจำนวนมากจะพึงพอใจ ในฝีมือการทำงานของแรงงานไทย และต้องการจ้างแรงงานไทยจำนวนมาก แต่จำนวนแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางมาประเทศบรูไนกลับมีปริมาณลดลง สาเหตุที่ทำให้มีผู้ต้องการเดินทางมาทำงานประเทศบรูไนลดน้อยลง เนื่องจากรายได้ที่ได้รับอยู่ระหว่าง 20 – 25 เหรียญต่อวัน การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาลดลงหรือไม่มีการทำงานล่วงเวลา ปัญหาการจ่ายค่าจ้างล่าช้า แรงงานไทยต้องการรอการไปทำงานในประเทศเกาหลี อิสราเอล หรือประเทศอื่น ซึ่งคาดว่าจะได้รับค่าจ้างสูงกว่า
สำนักงานแรงงานในประเทศบรูไน ได้เข้าพบนายจ้างท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการจ้างแรงงานไทยเป็นประจำซึ่งเป็นการขยายตลาดแรงงานในบรูไนด้วยการประสานความร่วมมือผ่านภาคส่วนต่าง ๆ ในบรูไนส่วนใหญ่นายจ้างมีความพึงพอใจในการจ้างแรงงานไทย เนื่องจากแรงงานไทยมีทักษะฝีมือสูง มีความขยัน อดทนและมีความรับผิดชอบในการทำงานดี
แรงงานไทยที่นายจ้างบรูไนมีความต้องการจ้าง ที่เป็นแรงงานระดับวิชาชีพ (Professional) ได้แก่ ตำแหน่ง Chief Engineer, Field Engineer, Residence Engineer, Project Manager, Senior Planner, Insulator, ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในกิจการขุดเจาะน้ำมัน ที่เป็นแรงงานระดับฝีมือ (Skilled Worker) ได้แก่ Field Specialist, Rigger, Fitter, Welder, Lineman, Field Operator, Maintenance Specialist, Electrician/Mechanical Superintendence, Truck Driver, Chef, Massager ทำงานในกิจการขุดเจาะน้ำมัน กิจการซ่อมบำรุงผลิตกระแสไฟฟ้า กิจการก่อสร้าง กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ กิจการร้านอาหาร และกิจการนวดสปา และแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) ทำงานในกิจการก่อสร้างและอื่นๆ
2424