บรูไน เป็นประเทศที่ขาดแคลนกำลังแรงงาน จึงต้องอาศัยพึ่งพาแรงงานต่างชาติทั้งในภาคเศรษฐกิจและอุตสหกรรมเป็นจำนวนมาก เพราะมีสาเหตุจากการที่มีประชากรน้อย แรงงานต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากมาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ บังคลาเทศ อินเดีย เป็นต้น ภาคเอกชนเป็นแหล่งการจ้างงานที่ใหญ่ที่สุด ส่วนที่เหลือเป็นการจ้างงานในภาครัฐบาล
กรมแรงงานบรูไน เป็นหน่วยงานที่บริหารการจ้างแรงงานต่างชาติของประเทศบรูไน โดยจะพิจารณาอนุญาตให้นายจ้างแต่ละรายจ้างแรงงานต่างชาติโดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวน ตำแหน่ง และสัญชาติของแรงงานต่างชาติไว้โดยรวม (Labour Quota) นายจ้างจะสามารถพิจารณาในรายละเอียดว่า จะจ้างแรงงานแต่ละชาติในแต่ละตำแหน่งว่าเป็นจำนวนเท่าใด ตามกรอบ (Labour Quota) ที่ได้รับอนุญาต
บรูไนเป็นตลาดเปิดสำหรับการจ้างแรงงานต่างชาติแทบทุกประเทศภายใต้สภาวะที่มีแรงงานจากประเทศต่างๆ ต้องการเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก นายจ้างจึงสามารถจะคัดเลือกแรงงาน และกำหนดเงื่อนไขการจ้างงานได้ตามที่ต้องการ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานของประเทศบรูไน หลักเกณฑ์ในการจ้างแรงงานต่างชาติ นายจ้างส่วนใหญ่จะคงไว้ซึ่งอัตราส่วนระหว่างแรงงานชาติต่างๆ หรือใกล้เคียงกันเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรวมตัวเพื่อต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ นอกจากนั้นจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่างๆ อีกหลายประการ เช่น ข้อเด่น ข้อด้อย ของแรงงานจากที่ทำงานหรือเคยทำงานร่วมกันมาก่อน
ตามแผนพัฒนาประเทศ ตามวิสัยทัศน์ 2078 ของบรูไนวางแผนการจ้างแรงงานต่างชาติ ไม่ควรจะมีมากกว่า 1/3 ของกำลังแรงงานทั้งหมดของประเทศ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่น ที่ว่างงานกว่า ได้มีงานทำ สถานการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ภาครัฐและภาคเอกชน ในโอกาสที่ขยายการจ้างงานในกิจการด้านต่างๆ และฝึกอบรมให้คนเหล่านี้ให้มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าไปทำงานแทนแรงงานต่างชาติ
2542