นางฮาสบอล่า อธิบดีกรมแรงงานประเทศบรูไน กระทรวงมหาดไทย กล่าวในการเปิดการประชุมโครงการพัฒนาทักษะให้กับนักเรียนที่จบการศึกษา ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน “อะดินิน” ( Adidnin Training Development Centre) เมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ว่า การว่างงานต้องไม่ให้มีเกิดขึ้นในประเทศบรูไน ตราบใดที่ยังมีการจากแรงงานต่างด้าวจำนวนมากอยู่ถึงมากกว่า 87,867 คนในปี 2551 ในขณะที่มีผู้ประสงค์จะหางานทำที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมแรงงานมีจำนวน 4,653 คน และอัตราการว่างงานของประเทศอยุ่ที่ร้อยละ 3.4 มาตั้งแต่ปี 2550 ไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
มูลเหตุที่ปฎิเสธไม่ทำงานเกิดจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการได้แก่
1. การมีรัฐสวัสดิการหลายด้านเช่น สวัสดิการที่พักอาศัย เงินโบนัส และการตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศทุกๆ 3 ปี เป็นต้นในขณะที่ภาคเอกชนไม่สามารถทำได้
2. งานบางประเภทไม่จูงใจชาวบรูไนให้มาประกอบอาชีพ เช่นงานก่อสร้างงานทำเหมือง งานโรงย่อยหิน งานค้าส่ง ค้าปลีกซึ่งดูว่าเป็นงานใช้แรงงานมาก
3. การขาดประสบการณ์และทักษะในการทำงาน ที่เรียกว่า ความพร้อมในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้รัฐบาลจึงให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยเน้นการพัฒนาทักษะ และฝีมือการทำงานให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานให้มากขึ้น
สนร.บรูไน ติดตามข้อมูลการพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศบรูไนในห้วง ครึ่งปีแรกของปี 2552 พบว่า รัฐบาลจะพัฒนาฝีมือแรงงานที่เน้นไปยังกลุ่มอาชีพที่ขาดแคลนและที่มีความต้องการแรงงานเป็นหลักเช่น กลุ่มที่ต้องการประกอบอาชีพทหาร ตำรวจ งานเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมัน ฯ เนื่องจากต้องการกำลังไปทดแทนผู้ที่จะเกษียณอายุในแต่ละปี สำหรับการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคเอกชนพบว่ามีมากในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคารเป็นส่วนใหญ่ ภาคการก่อสร้างนั้นเป็นการใช้ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ของผู้บริหารโครงการ หรือคนควบคุมงานที่ทำงานมานาน แต่สำหรับคนงานทั่วไปไม่มีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาฯแต่อย่างใด นอกจากคนงานเองจะต้องมีความรักในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเท่านั้น ซึ่งแรงงานไทยควรได้รับการปลูกฝั่งลักษณะนิสัยดังกล่าวไว้จะทำให้มีโอกาสในการรับเหมางาน หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจได้ในประเทศบรูไนในอนาคต
ความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนส่งผลให้เกิดความร่วมมือด้านแรงงานอย่างรุนแรง
สนร.บรูไน